|
ศิลปะ คือการถ่ายทอดความรู้สึก ศิลปะเป็นวิธีสื่อสารความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน (เรโอ ตอลสตอย : Leo Tolstoi) ศิลปะ เกิดจากความเมาหรือความเพลิน ช่วยให้เราได้รับความเพลิดเพลินในชีวิต ด้วยเหตุนี้ โลกที่น่าเกลียดจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นโลกที่น่ารักเพราะศิลปะ (ไดโอนิซุส : Dionisus) ศิลปะ ได้แก่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในเมื่อธรรมชาติไม่สามารถอำนวยให้ (หลวงวิจิตรวาทการ) ศิลปะ หมายถึงงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามด้วยมือและด้วยความคิด (ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี) ศิลปะ คือการเลียนแบบธรรมชาติ ศิลปะ คือการแสดงออกทางความงาม ศิลปะ คือภาษาชนิดหนึ่ง ศิลปะ คือการรับรู้ทางการเห็น ศิลปะ คือการกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ต้องการสร้างขึ้น เพื่อให้มีความงาม ความแปลก และมีประโยชน์เท่าที่ความสามารถและแรงดลใจของมนุษย์จะแสดงให้ปรากฏได้ |
จากการนิยามความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า ศิลปะ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึงพอใจ ความคิดสร้างสรรค์ คือการกระทำในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เกิด สิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สิ่งที่มีชีวิตเท่านั้นที่จะมีความคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดระดับสูง เป็นความสามารถทางสติปัญญาแบบหนึ่งที่จะคิดได้หลายทิศทางหลากหลายรูปแบบโดยไม่มีขอบเขตนำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อสร้างสิ่งแปลกใหม่ หรือเพื่อการพัฒนาของเดิมให้ดีขึ้นทำให้เกิดผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน ของตัวเอง อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวในโลกที่มีความคิดสร้างสรรค์ เนื่องเพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบในการดำรงชีวิต และสามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้นกว่าเดิม รวมถึงมีความสามารถในการพัฒนาตน พัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ และรวมถึงพัฒนาโลกที่เราอยู่ให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับมนุษย์มากที่สุด ไม่ว่าโลกจะหมุนในแนวใด หรือแปรเปลี่ยนไปอย่างไร มนุษย์เราก็สามารถพัฒนาความคิดปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้อย่างชาญฉลาด การสร้างสรรค์มี 3 ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1. การรับรู้ (Perception) เพราะเราจะมีความคิดสร้างสรรค์ได้ จะต้องพบเห็นสิ่งต่างๆ มากๆ มีการรับรู้มาก และต้องพยายามสังเกตจากการรับรู้รั้น ยังไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นยังไม่ใช่ศิลปะทั้งหมด เพราะ "ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อความงามและความพึงพอใจ" ฉะนั้นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยไม่มีความงาม และความพึงพอใจ จึงไม่ใช่ศิลปะ 1. ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรง ที่กำหนด เรื่องราว หรือเกิดจากการ ประสานกลมกลืนกัน ของทัศนธาตุ เป็นผลจากการ จัดองค์ประกอบทางศิลปะ คือ เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว และน้ำหนัก โดยมีหลักการที่สำคัญคือ ความสมดุลย์ สัดส่วน จังหวะ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และจุดเด่น ซึ่งจะกล่าวในเรื่อง งานศิลปะนั้น มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อย ขึ้นอยู่กับ ประเภทของงาน เจตนาของผู้สร้าง และการรับรู้ของผู้ชมด้วยความงามในศิลปะ เป็นการสร้างสรรค์แท้ ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความงามของธรรมชาติ เป็นความงามที่แสดงออกได้แม้ในสิ่งที่น่าเกลียด หัวข้อ เรื่องราว หรือเนื้อหาที่ใช้สร้างงานนั้นอาจน่าเกลียด แต่เมื่อ เสร็จแล้ว ก็ยังปรากฎความงาม ที่เกิดจากอารมณ์ ที่ศิลปินแสดงออก ดังนั้น ความงามจึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินแสดงออกในงานศิลปะ ซึ่งเรียกว่า "สุนทรียศาสตร์" มีข้อความที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยเรอเนซองค์จนถึงทุกวันนี้ว่า "ศิลปะมิได้จำลองความงาม แต่สร้างความงามขึ้น" |